การส่องกล้องทางเดินอาหาร หรือ “endoscopy” คือ กระบวนการทางการแพทย์ที่ใช้กล้องพิเศษเพื่อดูภาพภายในของทางเดินอาหาร กระบวนการนี้ช่วยให้แพทย์สามารถตรวจสอบหลอดอาหาร, กระเพาะอาหาร, และส่วนต้นของลำไส้เล็ก โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า “endoscope” ซึ่งเป็นท่อยาวและยืดหยุ่นพร้อมกล้องวิดีโอและแสงสว่างที่ทำให้เห็นอวัยวะภายในได้ โดยการส่องกล้องที่มีสายยาวสอดเข้าไปทางปากหรือทวารหนัก แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน และการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนล่าง
การส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารเหมาะกับใครบ้าง
ผู้ที่มีอาการไม่ปกติของทางเดินอาหาร
- ปวดท้องเรื้อรัง
- อาเจียนเลือด
- ถ่ายอุจจาระมีเลือดหรือมีสีดำ
- มีปัญหาในการกลืนอาหาร
- น้ำหนักลดโดยไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน
- การเปลี่ยนแปลงลักษณะของอุจจาระที่ไม่ปกติ
ผู้ที่ต้องการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่
- มีอายุมากกว่า 50 ปีหรือมีแนวโน้มความเสี่ยงสูงตามแนวทางแพทย์ทั่วไป
- มีประวัติโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ในครอบครัว
ผู้ที่เคยมีประวัติเกี่ยวกับโรคทางเดินอาหาร
- โรคอักเสบของลำไส้ เช่น โรค Chron หรือโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง
- โรคกรดไหลย้อนหรือ GERD
ขั้นตอนการส่องกล้องทางเดินอาหาร และประโยชน์ที่ได้รับจากการส่องกล้อง
ขั้นตอนการส่องกล้อง
การเตรียมตัว: ผู้ป่วยอาจต้องอดอาหารหรือดื่มน้ำให้น้อยตามที่แพทย์แนะนำ เป็นเวลาหลายชั่วโมงก่อนการส่องกล้องเพื่อให้ทางเดินอาหารว่างเปล่า ซึ่งช่วยให้ภาพที่ได้ชัดเจนขึ้น และอาจต้องดื่มของเหลวพิเศษเพื่อช่วยให้ลำไส้สะอาด
การให้ยา: ผู้ป่วยอาจได้รับยาทำให้สลบหรือยาชา เพื่อลดความรู้สึกไม่สบายและความเจ็บปวดระหว่างการตรวจ
การส่องกล้อง: กล้องจะถูกนำเข้าไปในร่างกายผ่านปากหรือทวารหนักตามประเภทของการตรวจ แพทย์จะควบคุมกล้องเพื่อตรวจสอบส่วนต่างๆ ของทางเดินอาหารและสามารถถ่ายรูป หรือเอาตัวอย่างเนื้อเยื่อ มาตรวจหาโรคได้
ประโยชน์ของการส่องกล้องทางเดินอาหาร
การวินิจฉัย: การส่องกล้องช่วยให้แพทย์สามารถดูภาพภายในของทางเดินอาหารได้อย่างชัดเจน ซึ่งรวมถึงหลอดอาหาร, กระเพาะอาหาร, และลำไส้ต้น เพื่อค้นหาสาเหตุของอาการ เช่น ปวดท้อง, อาเจียนเลือด หรือการถ่ายอุจจาระผิดปกติ ช่วยให้วินิจฉัยโรคต่างๆ เช่น แผลในกระเพาะอาหาร, การติดเชื้อ, หรือโรคมะเร็งได้
การรักษา: นอกจากการตรวจดูภายในแล้ว การส่องกล้องยังช่วยในการทำหัตถการต่างๆ เช่น การตัดโพลิป, การหยุดเลือดออก หรือแม้แต่การเอาสิ่งแปลกปลอมออกจากทางเดินอาหาร ทำให้สามารถรักษาโรคบางอย่างได้โดยไม่ต้องผ่าตัด
การติดตาม: การส่องกล้องช่วยให้แพทย์ติดตามความก้าวหน้าหรือการตอบสนองต่อการรักษาได้อย่างใกล้ชิด
โรคที่สามารถรักษาได้ด้วยการส่องกล้องทางเดินอาหาร
- โรคกรดไหลย้อน (GERD) แม้ว่าการรักษาหลักจะเป็นการใช้ยา แต่ในบางกรณีที่มีอาการรุนแรงหรือมีภาวะแทรกซ้อน เช่น ตีบตันของหลอดอาหาร อาจใช้การส่องกล้องเพื่อทำการขยายหลอดอาหารหรือรักษาเนื้อเยื่อที่เสียหายได้
- โรคปากกระเพาะปัสสาวะอักเสบ หรือแผลในกระเพาะอาหาร การส่องกล้องสามารถใช้เพื่อวินิจฉัยและในบางกรณีช่วยรักษาโดยการฉีดยาหรือหยุดเลือดที่ไหลออกจากแผลในกระเพาะอาหารได้
- โรคลำไส้แปรปรวนเฉียบพลัน การส่องกล้องสามารถช่วยในการดึง หรือตัดส่วนที่อุดตันของลำไส้ได้ และยังสามารถใช้ในการติดตั้งสต็นท์เพื่อเปิดทางในลำไส้
- โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ การส่องกล้องสามารถใช้ในการตัดเนื้องอกที่ยังไม่แพร่กระจายหรือมีขนาดเล็กได้ โดยไม่ต้องผ่าตัด
- โพลิปในลำไส้ใหญ่ การส่องกล้องสามารถใช้ในการตัดโพลิปที่อาจพัฒนาเป็นมะเร็งในลำไส้ใหญ่ได้
- การส่องกล้องสามารถช่วยในการเอาสิ่งแปลกปลอมที่กลืนเข้าไปและติดอยู่ในทางเดินอาหารออกได้
- รักษาเลือดออกในทางเดินอาหาร การส่องกล้องสามารถใช้เทคนิคต่างๆ เช่น การใช้คลิปหรือยาฉีดเพื่อหยุดเลือดที่ไหลออกจากเส้นเลือดที่เสียหาย
ทั้งนี้การส่องกล้องทางเดินอาหาร เป็นอีกหนึ่งวิธีที่มีประโยชน์มากกับทางการแพทย์ และผู้ป่วย หลายด้าน ทั้งการวินิจฉัยและการรักษา ช่วยให้ผู้ป่วยหลายรายสามารถทำการรักษาโดยเลี่ยงการผ่าตัดได้ค่ะ